วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)

             

กาเนิดอาเซียน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) หรือ อาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ จากการลงนามโดยสมาชิกผู้ก่อตั้งรวม ๕ ประเทศ

‘บ้านเกิด’ ของอาเซียน

เมื่อปี ๒๕๑๐ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตึงเครียดและขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ตลอดจนความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศ อาทิ ความขัดแย้ง ระหว่างมลายาและฟิลิปปินส์ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก รวมทั้งการที่ สิงคโปร์แยกตัวออกจากมลายา ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกัน ระหว่างประเทศในภูมิภาค ต่อมาเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคจึงหันหน้า เข้าหากันและร่วมมือกันมากขึ้น จึงเกิดกระแสภูมิภาคนิยมในเอเชียเกิดขึ้น ก่อให้เกิดกลไก ความร่วมมือทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ภายในเอเชียมากมาย รวมถึงการขยายกลุ่มอาเซียนเป็นอาเซียน plus ๓ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตลอดจนอาเซียน plus ๖ เพิ่มประเทศอินเดีย ออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ เพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยทุกประเทศจะได้ รับประโยชน์ทาง เศรษฐกิจและสังคมจากการรวมกลุ่มกันในภูมิภาค

สมาชิกอาเซียน

ในขณะนั้น ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศไทยได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาหารือร่วมกันที่ แหลมแท่น จ. ชลบุรี ซึ่งนำมาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียนที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ นับได้ว่า ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศผู้ร่วมก่อตั้งและเป็น ‘บ้านเกิด’ ของอาเซียน โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งรวม ๕ ประเทศ ดังนี้ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ) ประเทศมาเลเซีย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี กลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ) สาธารณรัฐสิงคโปร์ นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ) ประเทศไทย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ)

ต่อมา ได้มีประเทศอื่นๆ เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปีต่อๆ มา ดังนี้

บรูไนดารุสซาลาม เป็นสมาชิกเมื่อ ๘ มกราคม ๒๕๒๗
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นสมาชิกเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๙
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นสมาชิกเมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐
สหภาพพม่า เป็นสมาชิกเมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐
ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นสมาชิกเมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๒
            ปัจจุบันสมาชิกอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐ ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนิเซีย สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐ- สังคมนิยมเวียดนาม

ปฏิญญากรุงเทพฯ
ได้ระบุวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ๗ ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
(๑) ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และการบริหาร
(๒) ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
(๓) เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
(๔) ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
(๕) ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริม การศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(๖) เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจน การปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
(๗) เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาค อื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
ปฏิญญากรุงเทพ ที่ก่อตั้งอาเซียน เมื่อปี ๒๕๑๐ ได้ระบุวิสัยทัศน์และวางรากฐาน สำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียน แต่สถานการณ์ทางการเมืองในภูมิภาคในขณะนั้นอยู่ ในยุคของสงครามเย็น ความคิดที่จะร่วมมือกันจึงไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง
แต่ต่อมาเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศในภูมิภาคจึงสามารถหันหน้าเข้าหากัน และร่วมมือกันมากขึ้น ส่งผลให้แนวคิดที่จะมีการรวมตัวการอย่างเหนียวแน่นได้รับการฟื้นฟูขึ้นมา อีกครั้งหนึ่ง โดยอาจกล่าวได้ว่า
ข้อริเริ่มของท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ใน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน นับเป็นจุดเริ่มต้นสาคัญของการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียน โดยเริ่มจากเสาเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความคืบหน้า โดยริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๕ โดยตกลงที่จะลดภาษีศุลกากร ระหว่างกันให้เหลือร้อยละ ๐-๕ ในเวลา ๑๕ ปี ซึ่งต่อมาได้ลดเวลาลงเหลือ ๑๐ ปี โดยประเทศสมาชิกเก่า ๖ ประเทศ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๖ ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ ๔ ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ดำเนินการเสร็จสิ้นในปี ๒๕๕๑

นโยบายการดาเนินงานของอาเซียน            การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) หรือ การประชุมของผู้นำประเทศ สมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดจะกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ ประเทศสมาชิกจะร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว ซึ่งจะปรากฏเป็น เอกสารในรูปแบบต่างๆ ได้แก่
 แถลงการณ์ร่วม(Joint Declaration)
 ปฏิญญา(Declaration)
 แผนปฏิบัติการ(Action Plan)
 อนุสัญญา(Convention) หรือ
 ความตกลง(Agreement)
ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนจะเป็นการประชุม
เพื่อพิจารณาทั้งนโยบายการดำเนินงานในภาพรวมและเฉพาะด้าน
 การก่อตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

จากที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลี เมื่อเดือนตุลาคม ปี ๒๕๔๖ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนาม ในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี ๒ (Declaration of ASEAN Concord LL หรือ Bali Concord LL) เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เพื่อ สนับสนุนให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคม เดียวกันและร่วมมืออย่างรอบด้านให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐) โดยสนับสนุนการรวมตัว และความร่วมมืออย่างรอบด้าน ได้แก่    
ด้าน


จัดตั้ง
ภาษาอังกฤษ


การเมือง


ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ASEAN Political-Security Community (APSC)


เศรษฐกิจ


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ASEAN Economic Community (AEC)


สังคม และ วัฒนธรรม


ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC)

ต่อมาผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบที่จะให้เร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็ว ขึ้นกว่าเดิมอีก ๕ ปี คือ ให้รวมตัวกันให้เสร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) เนื่องจากเห็นว่า สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขันรุนแรงขึ้น เช่น อัตราการเติบโตด้าน เศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา อาเซียนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อให้ สามารถคงบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของ ประชาชนได้อย่างแท้จริง วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค ความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า
อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน (Identity and Symbols)
ตามกฎบัตรอาเซียน (หมวด ๑๑ ข้อ ๓๕-๔๐) กำหนดให้อาเซียน มีหน้าที่ในการส่งเสริม
๑) อัตลักษณ ์ ซึ่งหมายถึงการสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของอาเซียนในหมู่ประชาชน
๒) สัญลักษณ์ ได้แก่
๒.๑
คำขวัญของอาเซียน
"One Vision, One Identity, One Community" :
" หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม "
๒.๒
ธงประจาสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) Flag of the Association of South East Asian Nations (ASEAN)

      ธงคือสิ่งที่แสดงถึงความมั่นคง สันติภาพ ความเป็นเอกภาพ และพลวัติของอาเซียน และเป็นที่มาของ สี ๔ สีที่ปรากฏอยู่บนธง

๑๖ ๒.๓ ดวงตราอาเซียน


       สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรวงข้าวสีเหลือง ๑๐ มัด หมายถึงตัวแทนของประเทศ สมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง ๑๐ ประเทศที่ร่วมก่อตั้งอาเซียน อยู่ในพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า ‚asean‛ สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพ รวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ ความเป็น หนึ่งเดียว ความสมานฉันท์และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
สีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีสำคัญที่ปรากฏในธงชาติของแต่ละ ประเทศสมาชิกอาเซียน
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีน้าเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง ๒.๔ วันอาเซียน ให้วันที่ ๘ สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน ๒.๕ เพลงประจาอาเซียน (ASEAN Anthem) คือ เพลง ASEAN Way
ข้อมูลความเป็นมาของเพลงประจาอาเซียน (ASEAN Anthem) ความเป็นมา
ในที่ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ ๒๙ ในเดือน มิถุนายน ปี ๒๕๓๗ เห็นว่า อาเซียนควรจะมีเพลงประจำอาเซียนเพื่อไว้เปิดในช่วงของการจัด กิจกรรมต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ โดยที่ประชุมตกลงให้ใช้เงินจากกองทุนวัฒนธรรม อาเซียนเพื่อจัดทำโครงการเพื่อคัดเลือกเพลงประจำอาเซียน
ต่อมาในการประชุม ครั้งที่ ๓๒ ของคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและ สนเทศในเดือนพฤษภาคม ปี ๒๕๔๐ ที่ประเทศมาเลเซีย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกเพลง ในรอบสุดท้าย โดยเพลงที่เข้ารอบในครั้งนั้นเป็นเพลงจากไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ผลปรากฎ ว่า เพลง ASEAN Song of Unity หรือ ASEAN Oh ASEAN จากฟิลิปปินส์ได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่ เพลงดังกล่าวไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เนื่องจากใช้เปิดเฉพาะในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่า ด้วยวัฒนธรรมและสนเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่มาเลเซีย และที่สิงคโปร์ ประเทศที่ เป็นเจ้าภาพในการประชุม จึงได้แต่งเพลงเพื่อใช้เปิดในที่ประชุม โดยมาเลเซียแต่งเพลง ‚ASEAN Our Way‛ และสิงคโปร์แต่งเพลง "Rise"
บทบาทของไทยกับการจัดทาเพลงประจาอาเซียน         ตามกฎบัตรอาเซียน ข้อที่ ๔๐ ระบุให้ อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียนโดยหากเป็นไป ได้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๔
ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการ แข่งขันเพลงประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบ การแข่งขันเป็น open competition โดยให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรอง คุณสมบัติเบื้องต้นและจัดส่งให้ประเทศไทยภายในกันยายน ๒๕๕๑ โดยเนื้อร้องต้องมีเกณฑ์ ดังนี้
(๑) เป็นภาษาอังกฤษ
(๒) มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน
 (๓) มีความยาวไม่เกิน ๑ นาที
(๔) เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทาง ด้านวัฒนธรรมและ เชื้อชาติ (๕) เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล ๒ หมื่นดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการคัดเลือกเพลงในประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดการประชุม คณะกรรมการตัดสินเพื่อคัดเลือกเพลงภายในประเทศขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑ โดยมี จำนวน ๑๑ เพลงที่ผ่านเกณฑ์และได้ส่งเข้าร่วมการประกวดแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียน
ในระดับภูมิภาคอาเซียน กรมอาเซียนเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันเพลงประจำ อาเซียนระดับภูมิภาคในรอบแรกเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ โรงแรม Pullman Bangkok King Power โดยมีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ ๑ คน ฯพณฯองคมนตรี พล.ร.อ. อัศนี ปราโมช ได้ให้เกียรติเป็นกรรมการฝ่ายไทยโดยทำหน้าที่ประธานการประชุมคัดเลือกเพลงและได้ คัดเลือกเพลงจำนวน ๑๐ เพลง จากที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น ๙๙ เพลง รอบตัดสิน เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน ๑๐ คนเดิม และจากนอกสมาชิกอาเซียนมี ๓ คน ได้แก่จากญี่ปุ่น จีน และออสเตรเลียร่วมตัดสิน
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกเพลง ASEAN Way ของประเทศไทยแต่งโดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง)
นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และ นางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง)
ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน และได้ใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุม
สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๔ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ที่หัวหิน

ความสาคัญของเพลงประจาอาเซียน
การมีเพลงอาเซียนถือว่ามีความสำคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการช่วย สนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของอาเซียนในการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ การที่ไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขัน ครั้งนี้ รวมทั้งการที่เพลงจากไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเพลงประจำอาเซียน ถือเป็นเกียรติภูมิของ ประเทศและแสดงถึงความสามารถของคนไทยด้วย
เนื้อเพลง ASEAN Way
      Raise our flag high, sky high Embrace the pride in our heart ASEAN we are bonded as one Look'in out to the world. For peace, our goal from the very start And prosperity to last. We dare to dream we care to share. Together for ASEAN we dare to dream we care to share for it's the way of ASEAN เนื้อร้องภาษาไทยอย่างเป็นทางการ
      พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ วันที่เรามาพบกับ อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น หล่อหลอมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์ ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน เศรษฐกิจสังคมก้าวไกล
Working language
      ภาษาอังกฤษคือภาษาทำงานของอาเซียน เป็นภาษาที่ใช้ในระหว่างการประชุม การ โต้ตอบจดหมาย การจัดทำรายงานการประชุม ผลการพิจารราและมติที่ประชุม ตลอดจนการจัดทำคำแถลงการณ์ และการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ของอาเซียน ทั้งนี้ ในฐานะเป็นสมาคม อาเซียนไม่ได้ ให้บริการด้านการแปลหรือตีความ สานักงานใหญ่ของอาเซียน
กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ประชากรในภูมิภาคอาเซียน ประชากรประมาณ ๕๖๗ ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม ๔.๕ ล้านตารางกิโลเมตร
เหตุที่ต้องสร้างประชาคมอาเซียน
       ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ให้ ความสำคัญกับการรวมตัวกันในภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ ขณะที่ปัญหาหลายอย่างซึ่งเคยเป็นปัญหาในประเทศกลับขยาย วงกว้างขึ้นกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ อาทิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคติดต่อ อาชญากรรมข้ามชาติ หรือแม้แต่ปัญหายาเสพติด อาเซียนจึงต้องปรับตัวให้เท่าทัน สถานการณ์เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
การผนึกกำลังของอาเซียนซึ่งมีประเทศสมาชิก ๑๐ ประเทศให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ย่อม ทำให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและปัญหา ท้าทายได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วยให้เสียงของอาเซียนมีน้ำหนัก เพราะ การที่สมาชิกทั้ง ๑๐ประเทศมีท่าทีเป็นหนึ่งเดียวในเวทีระหว่างประเทศจะทำให้ประเทศและ กลุ่มความร่วมมืออื่น ๆ ให้ความเชื่อถือในอาเซียนมากขึ้นและทำให้อาเซียนมีอำนาจต่อรองในเวที ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย
ในปี ๒๕๔๖ ผู้นำอาเซียนต่างเห็นพ้องกันว่า ถึงเวลาแล้วที่อาเซียนควรจะร่วมมือ กันให้เหนียวแน่น เข้มแข็ง และมั่นคงยิ่งขึ้น ภายในปี ๒๕๖๓ จึงกำหนดให้มีการสร้างประชาคม อาเซียนที่ประกอบไปด้วย ๓ เสาหลัก (pillars) ซึ่งต่อมาได้เลื่อนกำหนดเวลาสำหรับการรวมตัวกัน ให้เร็วขึ้นเป็นปี ๒๕๕๘

ที่มา : http://province.m-culture.go.th/uttaradit/ASEAN2015.pdf